แหล่งท่องเที่ยว

1.บึงโขงหลง
บึงโขงหลง 

บึงโขงหลง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตินิเวศ และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 8,064 ไร่ เมื่อปี พ.ศ 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ดำเนินแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 และได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ 1,098 ของโลก (Wetland of International Importance)

บึงโขงหลง

ในปี พ.ศ. 2544 มีพื้นที่กว่า 22 ตารางกิโลเมตร ยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชาติ เช่น นกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก มีปลาชนิดที่หาดูได้ยาก คือ ปลาบู่แคระ

บึงโขงหลง

วันเปิดทำการ: ทุกวัน /เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 16.30

2. วัดสว่างอารมณ์
วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์ (อ. ปากคาด) ภายในวัดมีโบสถ์อยู่บนก้อนหินใหญ่ ลืบถ้ำด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพาน บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์สวยงามของแม่น้ำโขง

วัดสว่างอารมณ์

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ ทางหลวงหมายเลข 212 ถึง อำเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัไปอีก 500 เมตร วันเปิดทำการ: ทุกวัน /เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 16.30




3.ภูทอก

ภูทอก

ภูทอก (อ.ศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม

ภูทอก


   ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว อยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ
   ภูทอกน้อยเป็นที่ตั้งของ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุดพ้นด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน ดังนั้นผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่ บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้




ภูทอก

  ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกัน เรียกว่า ดงชมพูทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ
  ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม

ภูทอก

การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร
วันเปิดทำการ: ทุกวัน /เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 16.30

4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้าค่ะ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตั้งอยู่บ้านดอนจิก เลยอำเภอบุ่งคล้า 3 กิโลเมตรและเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้าสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่
1.น้ำตกถ้ำฝุ่น

น้ำตกถ้ำฝุ่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

2.น้ำตกเจ็ดสี
น้ำตกเจ็ดสี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว


5.หนองกุดทิง

หนองกุดทิง จ.บึงกาฬ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่เกือบ 20,000 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ หนองกุดทิงมาให้ดูกันค่ะ

หนองกุดทิง

หนองกุดทิง ห่างจากตัวเมืองบึงกาฬประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่เกือบ 20,000 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ และเป็นที่อาศัยของนกอพยพและนกประจำถิ่นหลายชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก หรือ แรมซาร์ไซท์ เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย

หนองกุดทิง

6. วัดอาฮงศิลาวาส
วัดอาฮงศิลาวาส จ.บึงกาฬ บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม ประดิษฐานพระพุทธคุวานันท์ศาสดาหล่อด้วยทองเหลือง ลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช สถานที่แห่งนี้ซึ่งมีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา และบั้งไฟพญานาค


วัดอาฮงศิลาวาส

วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ที่ บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ ริมแม่น้ำโขงติดกับแก่งอาฮง ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม ประดิษฐานพระพุทธคุวานันท์ศาสดาหล่อด้วยทองเหลือง

วัดอาฮงศิลาวาส



7.ศาลเจ้าแม่สองนาง
ศาลเจ้าแม่สองนาง จ.บึงกาฬ เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์กลางเมืองบึงกาฬ เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของประชาชนและคนทั่วไป

ศาลเจ้าแม่สองนาง

ศาลเจ้าแม่สองนาง ตั้งอยู่ที่ถนนศาลเจ้าแม่สองนาง ตำบลบึงกาฬ  เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์กลางเมืองบึงกาฬ เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของประชาชนและคนทั่วไป
ศาลเจ้าแม่สองนาง

8.ตลาดลาว
ตลาดลาว จ.บึงกาฬ เป็นตลาดนัดของบึงกาฬมีเฉพาะวันอังคารและวันศุกร์

 ตลาดลาว

ตลาดลาวที่เรียกว่าตลาดลาวเนื่องจากมีแม่ค้าจากฝั่งลาวนำของมาขายจำนวนมาก ทั้งพืชผัก อาหารแห้ง อาหารสดต่าง ๆ








ตลาดลาว


9.แก่งอาฮง
แก่งอาฮง จ.บึงกาฬ เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น สะดือแม่น้ำโขง” 


แก่งอาฮง

แก่งอาฮง เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้า วัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น สะดือแม่น้ำโขงแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ 300 เมตร ในฤดูน้ำลด และมีความกว้าง 400 เมตร ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่


แก่งอาฮง


ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือบั้งไฟพญานาคในช่วงประเพณีออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณ บ้านอาฮง เป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน /เวลาเปิดทำการ: 06.00 – 18.00




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น