ประเพณีและวัฒนธรรม


ประเพณีประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ เทศกาลสงกรานต์ แห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีแข่งเรือยาวและงานไหลเรือไฟหรือ บั้งไฟพญานาค

1.บุญบั้งไฟ
จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีดั้ง เดิมของชาวอำเภอบึงกาฬ โดยเป็นการส่งเสริมประเพณีศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นและช่วยส่งเสริมการท่อง เที่ยวของอำเภอบึงกาฬ โดยจะมีขบวนแห่บั้งไฟของชุมชนต่างๆ ในเทศบาลตำบลบึงกาฬ เช่น ชุมชนบึงกาฬกลาง ชุมชนบึงกาฬไต้ ชุมชนบึงกาฬเหนือ ชุมชนศรีโสภณ และชุมชนวิศิษฐ์โดยเทศบาลจัดให้มีการประกวดขบวนแห่เซิ้งบั้งไฟทุกปี

2. ประเพณีสงกรานต์
เมื่อวันที่ 13 เม.ย. เทศบาลตำบลบึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ได้จัดพิธีแห่นางสงกรานต์สรงน้ำพระไปรอบๆ ตัวเมือง โดยมีขบวนแห่ของชุมชนจาก 6 คุ้มเข้าร่วมขบวน โดยมีขบวนแห่พระพุทธรูป องค์หลวงพ่อพระใหญ่จำลองแห่งวัดบ้านท่าไคร้ ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอายุกว่า 2000 ปีนำหน้าเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคล จากนั้นก็ตามด้วยขบวนผู้สูงอายุ ขบวนฟ้อนรำ ขบวนละเล่นพื้นเมือง และขบวนนางสงกรานต์ ท่ามกลางแสงแดดอันแผดจ้า ตลอดระยะเส้นทางขบวนมีประชาชนคอยละเล่นสาดน้ำเป็นระยะ บรรยากาศเต็มไปด้วยความชุ่มฉ่ำสนุกสนาน


3.แห่เทียนเข้าพรรษา 
เป็นงานประจำปีของจังหวัดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา? โดยมีการหล่อเทียนพรรษา? และประดับตกแต่งเทียนอย่างสวยงามมีการจัดขบวนแห่ของแต่ละคุ้มมาประกวดแข่งขันกัน


4.ประเพณีแข่งเรือยาว
จัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำโขงมีมากโดยการแข่งขันเรือยาว ประเพณีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เรือยาวประเภทท้องถิ่นกำหนดฝีพายตั้งแต่ 46-55 ฝีพาย
2. เรือยาวเล็กกำหนดฝีพายตั้งแต่ 15-25 ฝีพาย
โดยมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมากมาย ทั้งมาจากต่างจังหวัด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม เข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย


5.งานไหลเรือไฟ หรือบั้งไฟพญานาค
เป็น พิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งนิยมทำกันในเทศกาลออกพรรษา ซึ่งทางจังหวัดหนองคายจะทำในคืนก่อนวันออกพรรษาหนึ่งคืนโดยยังคงรักษารูปแบบ ประเพณีเดิมอย่างเคร่งครัด โดยจะใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ไม้ไผ่ ทำเป็นแพ แล้วมัดไม้เป็นโครงรูปร่างต่างๆ หลายขนาดบางลำยาว 10 วา 12 วา หรือ 15 วา กลางโครงเรือจะมีเครื่องสักการบูชา เช่น ผ้า, เครื่องใช้และของกิน เช่นกล้วย, อ้อย, หมาก,พลู ฯลฯ เมื่อจุดไฟแล้วจะปล่อยลำเรือให้ไหลล่องไปในแม่น้ำโขง ถือเป็นการทำบุญกุศลทางพระพุทธศาสนาตลอดจนเป็นการบูชาพญานาค ตามความเชื่อของประชาชนลุ่มน้ำโขง

   





1 ความคิดเห็น: